ทัวร์แคชเมียร์ ลาดัก อัพเดทปี 2568
แคชเมียร์ เดลลี อัครา 9 วัน 6 คืน
ช่วงเวลาดีที่สุดของปี ไฮไลท์แตกต่างจากที่อื่น :
พัก Pahalgram ชมหุบเขา Aru, Betaab และ Doodpathi
ขี่ม้าชมหุบเขา Baisaran ที่ว่าสวยดั่งสวิตเซอร์แลนด์
วัดฮินดูในตำนาน มัสยิดโบราณ อายุหลายร้อยปี
ที่อัครา พาชมทัชมาฮาลแสงสวยยามเช้าตรู่
ไปอัคราฟอร์ต และเพิ่มสุสานพระเจ้าอักบาร์มหาราช
เดลลี ไหว้พระบรมสารีริกธาตุขุดพบจากกบิลพัสตุ์ ในพิพิธภัณฑ์เดลลี
มหาวิหารอัคซราดัม พร้อมแสงสีเสียง
บิน TG หรือ AI ทั้งไป-กลับ + บินภายในประเทศอีก 2 ขา
**รับประกันคุณภาพ ไม่ใช่ทัวร์ขายส่ง
กำหนดเดินทาง : 22-30 มีนาคม 2568
คลิก >> โหลดโปรแกรมทัวร์
ชมภาพไฮไลท์ด้านล่าง
แคชเมียร์ 7 วัน 4 คืน
ช่วงเวลาดีที่สุดของปี ไฮไลท์แตกต่างจากที่อื่น :
พัก Pahalgram ชมหุบเขา Aru, Betaab และ Doodpathi
ขี่ม้าชมหุบเขา Baisaran ที่ว่าสวยดั่งสวิตเซอร์แลนด์
วัดฮินดูในตำนาน มัสยิดโบราณ อายุหลายร้อยปี
บิน TG หรือ AI ทั้งไป-กลับ + บินในประเทศอีก 2 ขา
**เดินทางกรุ๊ปเล็ก 10-12 คน เที่ยวละเอียดเจาะลึก
** รับประกันคุณภาพ ไม่ใช่ทัวร์ขายส่ง
กำหนดเดินทาง : 4-10 และ 11-17 เมษายน 2568
คลิก >> โหลดโปรแกรมทัวร์
ทำความรู้จักดินแดน "จัมมูร์แอนด์แคชเมียร์"
ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนบนดินแดนที่สวยงามดังสรวงสวรรค์
ทำไมคน #แคชเมียร์ จึงรู้สึกแปลกแยกจากอินเดีย?
ในอดีตอันไกลโพ้น ผู้คนในดินแดนนี้นับถือศาสนาพุทธและฮินดู (ปัจจุบันก็ยังเป็นที่แสวงบุญของชาวฮินดู)ต่อมาด้วยฤทธิ์ทางการเมือง การลุแก่อำนาจของกษัติย์มุสลิมได้บังคับขู่เข็ญ ให้ประชาชนเปลียนมานับถืออิสลามหลายชั่วอายุคนผ่านไป คนแคชเมียร์กลายเป็นผู้ศรัทธาอัลเลาะห์อย่างเต็มเปี่ยม
เวลาต่อมากลุ่มชาวซิกข์ได้เข้ามามีบทบาทและปกครองดินแดนนี้ (ปัจจุบันก็มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวซิกข์ ที่มาแสวงบุญด้วยเช่นกัน)แต่ชาวซิกข์ไม่ใช่แค่ชนผู้เคร่งในศาสนาเท่านั้น พวกเขาเป็นนักรบด้วย และต้องการแบ่งแยกเป็นดินแดนปกครองของตนเองเช่นกันจึงเกิดศึกกับอังกฤษเข้าปราบปราม อังกฤษชนะ แต่ไม่ได้ปกครองเอง กลับให้ราชาฮินดูเข้าปกครอง ต่อเนื้องมาหลายรัชกาล
ในปีค.ศ. 1947 เมื่ออังกฤษจะมอบเอกราชให้อนุทวีปอินเดีย ก็วางหมากให้เกิดการแบ่งเป็น 2 ประเทศ คือ อินเดียและปากีสถาน โดยอ้างเรื่องชนที่นับถือศาสนาต่างกันมหา
ราชาฮินดูที่ปกครองแคชเมียร์ คิดไม่ตกว่าจะไปเข้ากับฝ่ายไหนดี ในที่สุดก็ตัดสินใจว่า ... คลิกอ่านต่อ
เทศกาลทิวลิปบานนับล้านดอก
ทิวลิปที่แคชเมียร์สวยจริงๆ บานสะพรั่งนับล้านดอก และนับพันชนิด ในสวนอนุสรณ์อินทิราคานธี (ชื่อเดิมว่า Siraj Bagh) ที่มีเนื้อที่เกือบ 100 ไร่ มีฉากหลังเป็นภูเขา Zabarwan ตัดกับฟ้าใส อากาศกำลังสบาย เย็นๆ ไม่หนาวจัด ช่วงเวลาแบบนี้มีเพียงแค่เดือนเดียว เริ่มปลายเดือนมีนาคม-ปลายเดือนเมษายน ของทุกปี แต่ไปชมช่วงต้นเทศกาลน่าจะดีกว่านะ ดอกไม้จะยังสดใหม่ ไม่ช้ำ
สวนแห่งนี้เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ.2006 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวแคชเมียร์ ด้วยภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม ทำให้การปลูกดอกทิวลิปและดอกไม้ต่างๆ ได้ผลดี บานสะพรั่ง นอกจากสวนทิวลิปแล้ว แคชเมียร์ยังมีสวนสวยสมัยโมกุล มีอายุหลายร้อยปีอีกหลายสวน ปัจจุบันก็ยังงดงามน่าเที่ยวชมอย่างยิ่งในฤดูใบไม้ผลิ จึงเป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกในช่วงเวลานี้ของปี
มารู้จักทิวลิปให้ลึกขึ้นอีกนิด ... คนส่วนใหญ่คิดว่าทิวลิปมีต้นกำเนิดที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่แท้จริงแล้ว มีต้นกำเนิดในเปอร์เซีย (อิหร่าน, ตุรกี) ชื่อทิวลิป ‘tulip’ มาจากภาษาตุรกีว่า ... คลิกอ่านต่อ
อาหารพื้นถิ่นของชาวแคชเมียร์

Wazwan จานแรกเรียกว่า Tream (ภาพจาก https://www.asiamediacentre.org.nz/features/the-intricacies-of-kashmiri-wazwan)
อาหารพื้นถิ่นของ #ชาวแคชเมียร์ ที่เรียกว่า #Wazwan นั้น แท้จริงแล้วในอดีต ปรุงและเสริฟให้เฉพาะราชวงศ์และชนชั้นสูงเท่านั้นจึงมีประโยคที่ว่า "Wazwan, The royal food of Kashmir"
Wazwan มาจากคำผสม 2 คำ ‘Waza’ หมายถึงการปรุงอาหาร และ ‘Wan’ ที่มีความหมายถึง ร้านรวง ; ‘Wazwan’ โดยรวมจึงหมายถึง การจัดชุดอาหารสำหรับลานหรือพื้นที่การเฉลิมฉลอง
มีเรื่องเล่าว่า ผู้ที่นำ Wazwan มาสู่แคชเมียร์คือ Timur ราชาของชนเผ่าที่มีเชื้อสายมงโกลผสมเตอร์กิส ได้บุกเข้ามาในดินแดนแคชเมียร์ เอาชนะชนฮินดูสถานที่อยู่แต่เดิมได้ Timur ได้นำเอาวิธีการปรุงอาหารจากดินแดนแถบอุซเบกิซสถานเข้ามา เรียกการปรุงนี้ว่า Waza และมีการผสมผสานการปรุงอาหารแบบเปอร์เซีย เตอร์กี และอัฟกัน เข้าด้วยกันอีกชั้นหนึ่ง
การปรุง Wazwan เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ซับซ้อนไม่น้อย ลองมาดูกระบวนการโดยสังเขปกัน
- การเชือดและชำแหล่ะเนื้อสัตว์ที่จะนำมาปรุงจะต้องทำกันตั้งแต่ ตี3 เพื่อให้เสร็จพร้อมก่อนพระอาทิตย์ขึ้น * Wazwan แท้ๆ ต้องปรุงจากเนื้อแกะเท่านั้น และต้องเป็นเนื้อที่เชือดมาไม่เกิน 1 ชม. ก่อนนำมาปรุง แต่ปัจจุบันก็มีเนื้อชนิดอื่นมาผสมในบางจาน
- อาหารแต่ละจาน (ต่างชนิด) ก็จะใช้เนื้อแกะจากต่างส่วนกัน
- ก่อนนำมาปรุง จะต้องนำเนื้อที่แร่มาแล้ว มาบดให้ละเอียด โดยใช้ค้อนไม้วอลนัททุบเนื้อบนเขียงให้เส้นเอ็นสลายตัว จนเนื้อเละเนียน (ขนาดนำมาปั้นเป็นลูกชิ้นได้)
- เครื่องปรุงต่างๆ ใช้สมุนไพร ใบไม้ และเกสรดอกไม้ นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากับเนื้อก่อนนำไปปรุงสุกเป็นเมนูอื่นๆ
- การปรุงก็ต้องใช้เตาฟืนที่ทำจากไม้ที่ให้ผล (เช่น วอลนัท แอปเปิ้ล ) ปรุงในภาชนะที่ทำจากโลหะผสมทองแดง
- หัวใจอีกอย่างของการปรุง Wazwan คือ น้ำต้มเนื้อน้ำแรกที่ใส่เกลือไปด้วย จะใช้น้ำซุปนี้ผสมในอาหารทุกๆ จาน
- ที่ขาดไม่ได้เป็นเหมือนจิตวิญญาณของ Wazwan ทุกจาน คือ หัวหอม กระเทียม พริก
- ธรรมเนียมการกินอาหาร Wazwan นั้น จะนั่งล้อมวงกันวงละ 4 คน นั่งบนพื้นที่ปูด้วยพรม และมีผ้าสีขาววางรองสำรับอาหารอีกชั้นหนึ่ง
- ในวงรับประทาน จะมีหม้อรูปร่างคล้ายนาฬิกาทราย เรียกว่า Tasht-e-Naer ใส่น้ำอุ่นเอาไว้ล้างมือ น้ำจะไหลจากส่วนปากกว้างด้านบน ลงไปเก็บไว้ในกระเปาะฐานด้านล่าง
- สำหรับอาหารจานแรกเป็นจานใหญ่ผสมหลายอย่างเรียกว่า Tream ทั้งสี่คนจะใช้มือเปิบกินร่วมกัน ในจานเดียวกัน
Tream ประกอบด้วย ข้าว, อาหารที่ปรุงจากไส้, Seekh Kebab (เคบับ มีลักษณะเหมือนใส้กรอกหรือลูกชิ้นเสียบไม้) , อาหารส่วนซี่โครง, และเนื้อไก่ จาน Tream จะถูกนำมาวางไว้ก่อนแขกจะเข้ามา แต่จะปิดด้วยฝาที่ทำจากโลหะผสมทองเแดง เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเย็นชืดเสียก่อน
เมื่อพร้อมแล้ว ผู้อาวุโสที่สุดในครอบครัวเจ้าภาพจะเป็นผู้นำสวด ก่อนเริ่มรับประทาน แล้วอาหารจานอื่นๆ ก็จะทยอยตามมา ทั้งชุดมี 21 จาน ล้วนปรุงจากเนื้อสัตว์ โดยมีเนื้อแกะเป็นหลัก
* เมื่อจบมื้ออาหาร ตามธรรมเนียมมักจะเปล่งเสียงสรรเสริญเยินยอว่า "โอว! นี่คือสวรรค์บนพื้นโลก สวรรค์อยู่ที่นี่แล้ว"